การจดทะเบียนหย่า / Divorce

การจดทะเบียนหย่า / Divorce

วันที่นำเข้าข้อมูล 9 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 4 ก.ย. 2566

| 8,947 view

บุคคลสัญชาติไทย หรือผู้ที่สมรสกับบุคคลสัญชาติไทย ที่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยและมีความประสงค์จะจดทะเบียนหย่า สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอจดทะเบียนหย่าได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ตามขั้นตอนดังนี้

 1. ขั้นตอนการดำเนินการ
     1.1 กรอกแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

     (1) คำร้องนิติกรณ์ จำนวน 2 ชุด (ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายคนละชุด)

     (2) คำร้องขอจดทะเบียนการหย่า จำนวน 1 ชุด กรุณากรอกข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          (เขียนชื่อฝ่ายชายก่อนและตามด้วยชื่อฝ่ายหญิงจะต้องวงเล็บนามสกุลเดิมก่อนสมรสไว้ด้วย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) และ             

     (3) หนังสือสัญญาหย่า จำนวน 1 ชุด  (กรอกชื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงพร้อมกรอกชื่อพยานคนไทยให้เรียบร้อย)

          คำแนะนำการกรอกหนังสือสัญญาหย่า:

          - ถ้าไม่ต้องการระบุข้อตกลงในหนังสือการหย่าเรื่องทรัพย์สินให้เขียนว่า "ไม่ประสงค์บันทึก"

          - ข้อตกลงในการหย่าเรื่องบุตร โปรดระบุจำนวนบุตร เ่ช่น มีบุตรจำนวน ... คน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด และอายุของบุตรแต่ละคน (ปีบริบูรณ์) หมายเลขประจำตัวประชาชน ................... โดยบุตรเป็นผู้เยาว์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดายินยอมให้มารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เพียว

บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ(อายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์) ซึ่งมีความจำเป็นต้องระบุผู้ที่จะมีอำนาจปกครองบุตรภายหลังการหย่าด้วย และขอแนะนำให้ส่งสำเนาสูติบัตรของบุตรหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบุตรให้สถานทูตฯ ทางอีเมลด้วย 

             แต่หากไม่มีบุตรร่วมกัน ให้ระบุว่า "ไม่มี"

          - เรื่องอื่นๆ หากไม่ต้องการระบุให้เขียนว่า "ไม่มี"

             การใช้คำนำหน้านาม: ฝ่ายหญิง ประสงค์ ใช้คำนำหน้านามว่า "นางสาว" หรือ "นาง" และใช้นามสกุล "........" 

การใช้คำนำหน้านามต้องเขียนต่อจากเรื่องอื่นๆ เสมอ และหากท่านไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเองและมีประสงค์จะมอบอำนาจให้ญาติที่ประเทศไทยไปเปลี่ยนคำนำหน้านาม และหรือ นามสกุลภายหลังการจดทะเบียนการหย่ากรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ทางอีเมลด้วย โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสารสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและเบอร์โทรติดต่อของผู้รับมอบอำนาจมาในวันที่ทำการจดทะเบียนการหย่าพร้อมค่าธรรมเนียมชุดละ 30 ดอลลาร์นิวซีแลนด์

ข้อมูลประกอบ: ระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑

     1.2 นัดหมายวัน/เวลาขอรับบริการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ (คลิ๊กเพื่อทำการนัดหมาย) 

     1.3 นำเอกสารทั้งหมดมายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเองในวันนัดหมาย 

  
 2. หลักฐานประกอบคำร้องการขอจดทะเบียนหย่า
     2.1 คำร้องนิติกรณ์ คำร้องขอจดทะเบียนหย่า และหนังสือสัญญาหย่า ซึ่งกรอกรายละเอียดและลงชื่อโดยคู่หย่าและลงชื่อพยาน 2 คน แล้ว
     2.2 ต้นฉบับทะเบียนสมรสของทั้งสองฝ่าย
     2.3 หนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุของทั้งสองฝ่าย 
     2.4 บัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทั้งสองฝ่าย

     โดยส่งสำเนาเอกสารที่ใช้ตามข้อ 2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารการจดทะเบียนการหย่าล่วงหน้าทางอีเมล [email protected]  (อย่างน้อย 10 วันทำการ) ในวันที่จดทะเบียนหย่าแล้วที่สถานเอกอัครราชทูตฯ คู่หย่าจะได้รับใบทะเบียนการหย่า และใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนการหย่าในวันเดียวกัน  

     *หากท่านไม่นำเอกสารสำคัญต้นฉบับมาแสดงตนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่จดทะเบียนหย่าท่านจะไม่สามารถจดทะเบียนหย่าได้
              
3. ค่าธรรมเนียม: ฝ่ายละ 30 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ รวม 60 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (จ่ายด้วยบัตร EFTPOS หรือเงินสด)

A request for a registration of divorce can be filed at the Royal Thai Embassy according to the steps below.

1. Steps for Registering a Divorce
    1.1 Fill out all required forms, consisting of (1) Legalization Application Form (2) Application Form for Registration of Divorce และ (3) Divorce Agreement Form
    1.2 Make an appointment with the  Royal Thai Embassy (Click here to book an appointment)
    1.3 Submit all the required documents to the Embassy in person on the date of appointment

2. Required Documents
    2.1 All required forms, completed and signed
    2.2 Original copy of the marriage certificate held by each party
    2.3 Original passports of each party 
    2.4 Thai ID card and copy of Thai house registration of the Thai spouse

3. Fee: NZ$ 30 per person, payable in EFTPOS or Cash

เอกสารประกอบ

Legalization_Form_(TH-EN)
หนังสือสัญญาหย่า
คำร้องขอจดทะเบียนการหย่า